การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

แชร์เรื่องที่สำคัญ ที่จะทำให้ Trader สามารถอยู่รอดในตลาดได้นานขึ้น

4 กระทู้
3 ผู้ใช้
5 Reactions
91 เข้าชม
thaiforex
(@thaiforex)
สมาชิก Admin
Rank SSS
เข้าร่วม: 6 เดือน ที่ผ่านมา
กระทู้: 625
หัวข้อเริ่มต้น  
สวัสดีครับ ในบทความนี้ผมจะมาแชร์เรื่องที่สำคัญ ที่จะทำให้ Trader สามารถอยู่รอดในตลาดได้นานขึ้น ซึ่งการจะประสบความสำเร็จในการเป็น Trader มืออาชีพต้องมีหลายๆ ส่วนประกอบกัน และบทความนี้เป็นเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งผมได้ทดลองจากประสบการณ์การเทรดของตัวเอง นั่นก็คือ การออก Lot Size เพราะนี้คือปัจจัยแรกสุดที่จะเป็นตัวกำหนดว่า พอตของคุณจะแตกในกี่นาที หรือ กี่วัน การกำหนดขนาด Lot Size ในการเทรด Forex เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะมันส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงและกำไร การคำนวณ Lot Size ที่เหมาะสมช่วยให้สามารถควบคุมการขาดทุนและรักษาทุนไว้ได้

หากคุณเป็น Trader ที่ชอบวัดดวง ชอบลุ้นเหมือนการถูกหวย หรือ ชอบพนัน และความตื่นเต้นเร้าใจ บทความนี้อาจจะไม่ตอบโจทย์ แต่ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้มีความเป็นมืออาชีพในการเทรดมากยิ่งขึ้นก็ลองศึกษาจากบทความนี้ในเบื้องต้นก่อนครับ

-------------------------------------------------------------------------
ทุกท่านมีวิธีการออก Lot Size กันอย่างไรบ้างครับ? หากคุณเป็น Trader มือใหม่ที่พึ่งเข้ามาในตลาดก็อาจจะยังไม่เข้าใจ ว่าการออก Lot Size สำคัญอย่างไร เพราะมันไม่มีกฏตายตัวว่าออกเท่าไหร่ถึงเรียกว่าเหมาะสม
ผมเลยขอมาแชร์ 5 วิธีการออก Lot Size ให้มีประสิทธิภาพ เรียงลำดับตามความซับซ้อนของการคำนวณจากง่ายไปยาก ซึ่งทุกท่านสามารถเลือกใช้แต่ละวิธีตามสไลต์ที่ตัวเองชอบหรือวิธีที่เข้ากับแผนการเทรดของตัวเองได้เลยครับ
-------------------------------------------------------------------------
1. Fixed Lot Size by balance (การใช้ขนาด Lot คงที่ ตาม Balance ที่เติบโตขึ้นหรือลดลง)
  • แนวคิด: กำหนดขนาด Lot Size แบบคงที่ตาม Balance คือการที่เราจะสามารถเติบโตและคุ้นชินกับการวิ่งของเงินในพอตเมื่อเงินเยอะขึ้นหรือลดลง ขนาด Lot ที่ออกก็ค่อยๆ ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงตาม Balance
  • วิธีการใช้: นำเงินทุน หรือ Balance / 10,000 โดยประมาณ เช่น Balance < 200 จะออก Lot Size เพียง 0.01 order เดียวเท่านั้น
Balance 100 ออก lot Size = 0.01
Balance 200 ออก lot Size = 0.02
Balance 900 ออก lot Size = 0.09
Balance 1000 ออก lot Size = 0.1
Balance 1100 ออก lot Size = 0.11
Balance 10,000 ออก lot Size = 1
Balance 10,100 ออก lot Size = 1.01
  • ข้อดี: ง่ายต่อการใช้งาน ไม่ต้องคิดซับซ้อน ทำให้เราคุ้นชินกับขนาด lot ได้ง่าย ยิ่งถ้าเป็น Trader ที่ค่อยๆ ปั้นพอตจากเล็กๆ ไปใหญ่ วิธีนี้จะช่วยให้คุณเติบโตได้อย่างมั่นคงมากๆ เพราะนอกจาก Balance ที่สูงขึ้น กับ ขนาด lot ที่สูงขึ้น จิตใจของคุณก็จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นตามไปด้วย อาการทนแดง ไม่ทนฟ้า จะหมดไป เพราะคุณจะชินความไวของเงินในพอตได้เป็นอย่างดี ไม่ปิดก่อน ไม่ทนลาก เล่นตามแผนได้อย่างมั่นคง
  • ข้อเสีย: ไม่ได้คำนึงถึงการจัดการความเสี่ยงตามทุนหรือความผันผวน การขาดทุนแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระยะการวาง SL ซึ่งบางครั้งระยะ SL ไกลก็จะทำให้ขาดทุนเยอะกว่าปกติ
-------------------------------------------------------------------------
2. Leverage-Based Lot Sizing (การใช้ขนาด Lot ตามเลเวอเรจ)
  • แนวคิด: ใช้เลเวอเรจที่มีให้ กำหนดขนาด Lot โดยคำนึงถึงกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นจากเลเวอเรจ เช่น ใช้เลเวอเรจ 1:100 จะทำให้สามารถเทรดในขนาดที่ใหญ่กว่าเงินทุนที่มี
  • วิธีการใช้: คำนวณกำลังซื้อโดยใช้เลเวอเรจที่มี ใช้ขนาด Lot ที่เหมาะสมตามกำลังซื้อนั้น
  • ข้อดี: เพิ่มขนาดการเทรดได้แม้มีทุนจำกัด
  • ข้อเสีย: มีความเสี่ยงสูงหากตลาดเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้าม
  • ตัวอย่างการคำนวณ:
ทุน = $1,000
เลเวอเรจ 1:100
หมายถึงสามารถเทรดได้ถึง $100,000 1 Lot ในคู่เงิน EUR/USD มี
มูลค่า $100,000 ดังนั้นสามารถเปิดตำแหน่งที่ 1 Lot ได้
  • ข้อแนะนำ: สำหรับวิธีนี้เน้นไปที่การออก Lot สูงสุดเท่าที่จะออกได้ คือการเล่นแบบไม่ต้องคำนวณ lot แบบ วิธีที่ 1 เพราะฉะนั้นความเสี่ยงจะสูงมาก สำหรับคนที่ไม่ชอบคำนวณออก lot ตามใจ ต้องเน้นไปที่การกำหนด ขนาดของ Leverage ระดับบัญชีแทน ซึ่ง สูงสุดไม่ควรเกิน 1:50 จะปลอดภัยในระดับนึง แก้อาการชอบ Overtrade ได้
-------------------------------------------------------------------------
3. Percentage Risk Per Trade (การกำหนดความเสี่ยงเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุน)
  • แนวคิด: กำหนด Lot Size โดยใช้เปอร์เซ็นต์ของทุนที่ต้องการเสี่ยงในแต่ละการเทรด เช่น 1% หรือ 2% ของทุนทั้งหมด
  • วิธีการใช้: กำหนดเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยง (เช่น 1%) คำนวณจำนวนเงินที่พร้อมจะขาดทุนจาก Balance ใช้ระดับ Stop-Loss และความเสี่ยงต่อ pip เพื่อคำนวณขนาด Lot
  • ข้อดี: ควบคุมความเสี่ยงตามขนาดของทุนได้ดี
  • ข้อเสีย: ต้องมีการคำนวณที่ซับซ้อนเมื่อเปลี่ยนขนาด Stop-Loss ต้องคำนวณทุกครั้งที่ออก order จะพิจารณาทั้งระยะการวาง Stop-loss และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่น 1% หรือ 2% เป็นต้น
  • ตัวอย่างการคำนวณ:
ทุน = $10,000
ความเสี่ยงที่ยอมรับ 1% ของทุน = $100
Stop-Loss = 50 pips , 1 pip = $1 , สำหรับ 0.1 Lot
ขนาด Lot = ความเสี่ยงที่ยอมรับของทุน /ระยะการวาง Stop-Loss /
10 สำหรับบัญชีมาตรฐานปกติ ($100 / 50 Pips / 10 = 0.2 lot)
-------------------------------------------------------------------------
4. Risk-to-Reward Ratio Lot Sizing (การใช้ขนาด Lot ตามอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง)
  • แนวคิด: กำหนดขนาด Lot ตามอัตราส่วน Risk-to-Reward (เช่น 1:2 หรือ 1:3) โดยพิจารณาจากขนาด Stop-Loss และ Take-Profit ที่ต้องการ
  • วิธีการใช้: กำหนดอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง คำนวณ Stop-Loss และ Take-Profit คำนวณขนาด Lot ให้สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • ข้อดี: ช่วยให้การเทรดมีความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน
  • ข้อเสีย: ต้องมีการวางแผนและคำนวณหลายส่วน
  • ตัวอย่างการคำนวณ:
ทุน = $10,000
อัตราส่วน Risk-to-Reward = 1:3
ความเสี่ยงที่ยอมรับ = $100
Take-Profit = 150 pips, Stop-Loss = 50 pips
ขนาด Lot = $100 / 50 pips / 10 = 0.2 Lot
-------------------------------------------------------------------------
5. Volatility-Based Lot Sizing (การกำหนด Lot ตามความผันผวนของตลาด)
  • แนวคิด: ปรับขนาด Lot ตามความผันผวนของคู่เงินในช่วงเวลานั้นๆ หากตลาดมีความผันผวนสูงจะใช้ขนาด Lot ที่เล็กลง และหากตลาดมีความผันผวนน้อยจะใช้ขนาด Lot ที่ใหญ่ขึ้น
  • วิธีการใช้: วัดความผันผวนของตลาด เช่น ใช้ ATR (Average True Range) เป็นตัวชี้วัด คำนวณความเสี่ยงต่อ pip และกำหนดขนาด Lot ตามความผันผวนที่วัดได้
  • ข้อดี: ปรับขนาดการเทรดตามความเสี่ยงของตลาดในขณะนั้น
  • ข้อเสีย: ต้องการการวิเคราะห์ความผันผวนและคำนวณ Lot ใหม่ในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลาที่เทรด
  • ตัวอย่างการคำนวณ:
ทุน = $10,000
ATR แสดงความผันผวนเฉลี่ยต่อวัน = 100 pips
ความเสี่ยงที่ยอมรับ = $100
ขนาด Lot = $100 / 100 pips / 10 = 0.1 Lot
-------------------------------------------------------------------------
สรุป
การเลือกใช้วิธีการกำหนด Lot Size ควรสอดคล้องกับสไตล์การเทรดและการบริหารความเสี่ยงของคุณ โดยการใช้ Percentage Risk Per Trade และ Volatility-Based Lot Sizing มักจะเป็นวิธีที่นักเทรดมืออาชีพนิยมใช้เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน
 
1. Fixed Lot Size by balance (การใช้ขนาด Lot คงที่ตาม Balance ที่เติบโตขึ้นหรือลดลง)
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเสี่ยงหรือระยะการวาง SL วิธีนี้เพียงแค่กำหนด Lot Size คงที่ตาม Balance ทุกครั้งที่เทรด
  • ใช้งานง่าย: ไม่ต้องคำนวณซับซ้อน เพียงเลือกขนาด Lot ที่ต้องการตาม Balance ที่เปลี่ยนแปลง
2. Leverage-Based Lot Sizing (การใช้ขนาด Lot ตามเลเวอเรจ)
กำหนดขนาด Lot ตามเลเวอเรจที่มี วิธีนี้เข้าใจง่ายแต่ต้องระวังการใช้เลเวอเรจที่สูงเกินไป ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • ใช้งานง่าย: ขึ้นอยู่กับการใช้เลเวอเรจที่มี แต่ไม่ต้องคำนวณซับซ้อน
3. Percentage Risk Per Trade (การกำหนดความเสี่ยงเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุน)
ต้องคำนวณความเสี่ยงที่ยอมรับได้จากทุนที่มีและความเสี่ยงต่อ pip ของคู่เงินที่เทรด แต่ยังคงเป็นระบบที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยง
  • การใช้งานซับซ้อนปานกลาง: ต้องคำนวณขนาด Lot ตามเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงและจำนวน pip ระยะการวาง SL
4. Risk-to-Reward Ratio Lot Sizing (การใช้ขนาด Lot ตามอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง)
ต้องวางแผนการเข้าออกเทรดอย่างชัดเจน และคำนวณอัตราส่วน Risk-to-Reward ทำให้ซับซ้อนมากขึ้น แต่มีประโยชน์ในการรักษาความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน
  • การใข้งานซับซ้อนปานกลาง: ต้องคำนวณทั้ง Stop-Loss, Take-Profit และ Lot Size ตาม Risk-to-Reward Ratio
5. Volatility-Based Lot Sizing (การกำหนด Lot ตามความผันผวนของตลาด)
วิธีนี้ซับซ้อนที่สุด เพราะต้องคำนวณความผันผวนของตลาด เช่น ใช้เครื่องมือ ATR และคำนวณ Lot Size ตามความผันผวนนั้น ทำให้วิธีนี้มีการวิเคราะห์ที่ละเอียดมากขึ้น
  • การใช้งานซับซ้อนสูง: ต้องใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิคอย่าง ATR และคำนวณขนาด Lot ให้เหมาะสมตามความผันผวน
-------------------------------------------------------------------------
การควบคุมความเสี่ยงจากการออก Lot Size เป็นเพียงปัจจัยนึงที่จะทำให้การเทรดของคุณมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ แก่ Trader ทุกท่านนะครับ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถทักมาพูดคุยหรือ Comment ได้เลยนะครับ
ขอบคุณครับ 🙏 เครดิตจากคุณ Chonlatid Thaothong
No Risk , No Reward

   
TibitoBlink, Aetrader01, Chaichana and 1 people reacted
อ้างอิง
แบ่งปัน: