ดูอันดับนักแข่งea
เว็บบอร์ดลงโพสฟรี
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

IMF รับ บิตคอยน์ และ สกุลเงินคริปโทอื่น เข้าระบบการเงินโลกอย่างเป็นทางการ

2 กระทู้
2 ผู้ใช้
0 Reactions
92 เข้าชม
PleomXVSC
(@pleomxvsc)
สมาชิก
Rank F
เข้าร่วม: 11 เดือน ที่ผ่านมา
กระทู้: 334
หัวข้อเริ่มต้น  
IMF ปรับคู่มือดุลการชำระเงินใหม่เพื่อรองรับสินทรัพย์ดิจิทัล จัดบิตคอยน์เป็นสินทรัพย์ทุนเพื่อกำหนดมาตรฐานการรายงานกิจกรรมคริปโท ช่วยให้ติดตามการเคลื่อนไหวของเงินดิจิทัลระหว่างประเทศได้แม่นยำขึ้น
.
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับปรุงคู่มือดุลการชำระเงิน (Balance of Payments Manual) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา เพื่อรองรับบทบาทที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ดิจิทัล คู่มือฉบับใหม่ชื่อ BPM7 ได้จัดหมวดหมู่ให้คริปโทเคอร์เรนซีและสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทโทเคนต่างๆ เข้าไปในระบบการรายงานเศรษฐกิจโลก
.
📌 การจัดหมวดหมู่สกุลเงินดิจิทัล
.
บิตคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลในหมวดหมู่เดียวกับได้รับการจัดเป็น "สินทรัพย์ที่ไม่ได้ผลิตขึ้นและไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน" หรือ Non-produced Non Financial Assets ซึ่งหมายถึงเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าแต่ไม่ได้เกิดจากกระบวนการผลิตและไม่มีพันธะผูกพันทางการเงินกับผู้อื่น
.
สินทรัพย์เหล่านี้ไม่มีภาระหนี้สินผูกพัน และถูกจัดให้เป็นสินทรัพย์ประเภททุน (Capital Assets) โดยนักวิเคราะห์ในวงการคริปโทส่วนหนึ่งมองว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ช่วยให้ติดตามการเคลื่อนย้ายของเงินดิจิทัลข้ามประเทศได้แม่นยำมากขึ้น
.
📌 ความแตกต่างระหว่างโทเคนและเครื่องมือทางการเงิน
.
ทั้งนี้ คู่มือดังกล่าวของ IMF แบ่งโทเคนเป็น 2 ประเภท:
.
1. โทเคนที่แลกเปลี่ยนกันได้ (Fungible) หรือสามารถทดแทนกันได้เหมือนธนบัตร
.
2. โทเคนที่แลกเปลี่ยนกันไม่ได้ (Nonfungible) หรือมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถทดแทนกันได้)
.
ทั้งนี้ เงินดิจิทัลที่ไม่มีภาระหนี้สิน เช่น บิตคอยน์ ถูกจัดเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้ผลิตขึ้น (Non-produced Assets) ขณะที่ สเตเบิลคอยน์ (เงินดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่) ที่มีภาระหนี้สินจะถูกจัดเป็นเครื่องมือทางการเงิน (Financial instruments)
.
ส่วนการถือครองโทเคนที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์ม เช่น Ethereum หรือ Solana อาจถูกมองว่าคล้ายกับการถือหุ้นต่างประเทศ (Foreign Equity Investments) โดยเฉพาะเมื่อผู้ถือครองอยู่คนละประเทศกับที่ตั้งของแพลตฟอร์ม
.
📌 การรับรู้บริการที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล
.
IMF ได้กำหนดให้กิจกรรมการนำเงินดิจิทัลมาฝากเพื่อช่วยรับรองธุรกรรม (Staking) และการขุด (Mining) เป็นการให้บริการ โดยการขุดและการทำการสเตกกิ้งจะถูกบันทึกเป็นการส่งออกหรือนำเข้าบริการด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Service Exports or Imports) มากไปกว่านั้น ผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งอาจถูกจัดเป็นรายได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการถือครอง
.
ทั้งนี้ คู่มือ BPM7 เกิดจากการหารือร่วมกับมากกว่า 160 ประเทศ และคาดว่าจะเป็นแนวทางสำหรับการจัดทำสถิติทางการเงินระหว่างประเทศในอีกหลายปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะนำมาตรฐานเหล่านี้ไปใช้อย่างไร
.
IMF มีเป้าหมายที่จะเพิ่มความโปร่งใสเกี่ยวกับการไหลเวียนของสินทรัพย์ดิจิทัลและผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม คู่มือฉบับปรับปรุงนี้สร้างกรอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อรวมกิจกรรมเงินดิจิทัลเข้าไปในระบบบัญชีของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
.
.
 

   
อ้างอิง
ForexHedge2024
(@forexhedge2024)
สมาชิก
Rookie
เข้าร่วม: 1 เดือน ที่ผ่านมา
กระทู้: 4
 
  • ขอบคุณ 😆 

   
ตอบอ้างอิง

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

You are not allowed to attach files on this forum. It is possible that you have not reached the minimum required number of posts, or your user group does not have permission to attach files in this forum.
 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน: