ใครเทรด Forex บ้าง ใครคือขาใหญ่ในตลาด?
ในตลาด Forex เรามักจะสงสัยอยู่เสมอว่า ตลาดมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ ใครเป็นคนเทรด เนื่องจากตลาดเป็นตลาด Over the Counter (OTC: การซื้อขายที่ดำเนินการโดยตรงระหว่างสองฝ่ายโดยไม่มีศูนย์กลางการจับคู่ซื้อขาย ไม่มีการแทรกแซง) เราจึงไม่สามารถเห็นผู้เล่น หรือว่าคนที่อยู่ในตลาด แล้วใครกันนะที่สามารถ เทรด forex ได้? และขาใหญ่เป็นใครในตลาด Forex ได้เท่าที่ควร
ตลาด Forex มีผู้เล่นหลัก 5 กลุ่ม: ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (70% ของธุรกรรม), ธนาคารกลาง, กองทุนการลงทุน, โบรคเกอร์ และเทรดเดอร์รายย่อย
1.ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งนับเป็นผู้เล่นหลักในตลาด Forex: Photo by Etienne Martin on Unsplash
กลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นกลุ่มผู้เล่นหลักในตลาด Forex อยู่แล้วเพราะว่า ธนาคารนั้นเป็นตัวกลางในการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน หากใครจะซื้อ หรือขายค่าเงิน ต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคาร จึงไม่แปลกใจว่า ธนาคารนั้นจะมีเงินสำรองไว้ในมือค่อนข้างเยอะ
นอกจากนี้ธนาคารพวกนี้ยังมีการเก็งกำไร ส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งปริมาณการซื้อขายของธนาคาร ในตลาด Forex ส่วนใหญ่ กินมูลค่ากว่า 70 % ของธุรกรรมในตลาด เพราะว่าธนาคารพวกนี้จะทำการเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาของอัตราแลกเปลี่ยน พวกธนาคารมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่สูงกว่า นอกจากนี้ได้ค่าธรรมเนียมที่ต่ำ มีเงินในการบริหารจัดการในมือ ทำไมพวกนี้ถึงจะไม่ลงไปเล่นในตลาดกันหล่ะ
* ด้วยเหตุนี้เองในตารางข่าว Forex ที่วันไหนมีการหยุดของธนาคารค่าเงินใด วันนั้นเทรดเดอร์บางท่านจึงต้องทำการบ้านหนักหรืออาจต้องหยุดเทรดกันเลยทีเดียว โดยจะส่งผลให้ Volume ในตลาดน้อย มีผลต่อการถ่างของ spread และการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของกราฟคู่เงิน
2.ธนาคารกลาง
จริง ๆ แล้วขาใหญ่สุดน่าจะเป็นธนาคารกลางของแต่ละประเทศมากกว่า เพราะอะไรหน่ะหรือ? เพราะว่าพวกเขามีเงินของตัวเองยังไงหล่ะ ในสมัยก่อนธนาคารกลางมีบทบาทในการแทรกแซงค่าเงินของตัวเอง เพื่อรักษาเสถียรภาพของเงิน ตัวอย่างเช่น การใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือว่า Fixed to USD คือผูกค่าเงินไว้กับ USD นั้นเมื่อก่อนที่ 25 บาท
เพื่อให้ค่าเงินมันคงที่ รัฐบาลจะต้องทำการซื้อหรือขายเงินในแต่ละวันกรณีที่มันผิดไปจากเดิม เช่น ถ้าหากราคามันพุ่งจาก 25 เป็น 26 ธนาคารก็จะมีหน้าที่ขายเพื่อให้เงินกลับมาอยู่ที่ 25 บาทเป็นต้น อย่างไรก็ตามการทำอย่างนั้นทำให้ค่าเงินมีเสถียรภาพก็จริง แต่ว่าก็จะทำให้ธนาคารกลางมีความเสี่ยงจากการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนและถูกโจมตีได้
จากเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เช่น วิกฤติต้มยำกุ้งของประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้การใช้นโยบายค่าเงินของธนาคารกลางเปลี่ยนมาใช้เป็นการเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ซึ่งทำให้บทบาทของธนาคารกลางในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนลดลงไป เพราะไม่ต้องไปคอยซื้อเพื่อควบคุมเสถียรภาพของราคาอีกต่อไป
โดยกลุ่มธนาคารที่มีบทบาทใหญ่ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนได้แก่ ธนาคารที่มีค่าเงินสำคัญที่มีการซื้อขายมากที่สุดได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ธนาคารแห่งชาติยุโรป ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางสวิส เป็นต้น
3.กองทุนเพื่อการลงทุน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญในตลาด Forex นั่นก็คือ พวกกองทุนต่าง ๆ ทั้งนี้กองทุนมีหลักหมื่นกองทุนในโลก และมีท่าทีว่าจะโตต่อเนื่องอย่างไม่หยุดพวกนี้ก็แทรกซึมอยู่ทุกที่ และมีกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลาย กองทุนพวกนี้ก็เลือกสนาม Forex ในการเทรดด้วยเช่นกัน
หลัก ๆ ก็เพื่อเก็งกำไร และส่วนที่รองลงมา คือ การพยายามลดความเสี่ยงของการลงทุน การกระจายสินทรัพย์ เพราะว่าการลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยนนั้นทำได้ง่าย ซึ่งพวกกองทุนมีความได้เปรียบเรื่อง การมี Connection และการมีต้นทุนที่ต่ำกว่าลูกค้ารายย่อยประเภทอื่น ๆ อยู่แล้ว ทำให้ไม่ใช่เรื่องยากเลย สิ่งที่เป็นเรื่องยากกว่าสำหรับกองทุนคือ การบริหารจัดการให้ได้กำไร ต่อให้ระดับกองทุนก็เหอะเทรด Forex ให้ได้กำไรอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื่องไม่ง่าย
4.โบรกเกอร์ Forex
สำหรับ Forex Trader ไม่ว่าหน้าใด ๆ ก็ต้องไม่มองข้าม คู่แข่งโดยตรงของเรา ซึ่งเรียกว่าใกล้ตัวเรามากที่สุด เขาเป็นทั้งผู้ให้บริการ และเป็นผู้ที่กุมความได้เปรียบของเรา กุมชะตาชีวิตของเรา นั่นคือ Broker Forex นี่แหละ พวกนี้เข้ามาเทรดเพราะว่า พวกเขาก็มีเงินทุนสำรองหนาเช่นกัน นอกจากนี้เขายังเทรดตรงข้ามกับเราอีก ในบางครั้ง รูปแบบการเทรดก็แตกต่างกันไปในแต่ละโบรคเกอร์แต่ละประเภท
ลองจินตนาการถึง ตลาดคือเจ้ามือหวยเจ้าใหญ่ ขณะที่โบรกเกอร์ก็คือคนขายหวยใต้ดินในหมู่บ้าน จู่ ๆ มีคนหนึ่งเดินมาแทงเลขท้าย 2 ตัว 77 ซึ่งเคยออกไปแล้วในงวดก่อนหน้า จำนวน 50,000 บาท
เมื่อโบรกเกอร์เห็นเงินจำนวนนี้ก็โลภและคิดว่าอยากจะได้ไว้เอง เลยไปดูสถิติที่หวยจะออกเหมือนกัน 2 งวดพบว่าไม่มีก็เลยรับเงิน 50,000 ไว้เสีย แล้วไม่ส่งเข้าตลาด ถ้าลูกค้าแทง 77 แล้วถูกโบรกเกอร์ก็จะต้องจ่าย แต่ถ้าเทรดเดอร์ทายผิดเขาก็ได้เลย 50,000 บาท
ในภาษาวงการเรียกว่า “รับแทงเอง” นั่นจึงทำให้โบรคเกอร์อยู่ในสถานะเทรดเดอร์ แต่ถ้าหากว่า คาดว่ามันจะเป็นไปตามที่คนที่แทงคิด เขาก็จะไม่ส่งรับคำสั่งเองและส่งเข้าไปในตลาดให้เป็นไปตามกลไกตลาด เป็นต้น
โดยหลักการนี้ก็คือปกติ นักเทรดหน้าใหม่ที่ไม่ได้เทรดเกิน 4 ปีอย่างต่อเนื่อง จำนวน 90% จะเทรดเสีย โบรกเกอร์ Forex บางโบรกก็จะรับแทงเองนอกจากกินค่าบริการพวก ฝาก-ถอน, spread, commission, ก็จะได้ตรงนี้ด้วย เรียกว่ารวยกันเลยทีเดียว
5.เทรดเดอร์ Forex รายบุคคล
เรารู้จักกันในนามเทรดเดอร์ Forex รายย่อย ไม่ต้องหันไปมองใครที่ไหนครับ เรานี่แหละเทรดเดอร์รายยุ่ย..เอ๊ย ย่อย เพราะว่าเราเข้ามาด้วยการเก็งกำไรล้วน ๆ มีความเสี่ยงและขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาด Forex สุดท้ายก็อาจจะต้องเผชิญกับภาวะขาดทุน
* สำหรับกลุ่มเหล่านี้แต่ละกลุ่มจะใช้กลยุทธ์แตกต่างกันที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ พวกธนาคารอาจจะไม่ได้มุ่งหวังกำไรจากการส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนมากนักแต่คาดหวังเรื่องของการลดความเสี่ยงของการโยกย้ายเงินดังนั้นกลยุทธ์ในการเทรดของแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกัน แต่ร้อยละ 80 นั้นคือ เข้ามาเพื่อการเก็งกำไรอย่างแน่นอน จึงต้องกินส่วนต่างของราคาเป็นสำคัญ
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ FOREXTHAI.IN.TH
ทิ้งคำตอบไว้
- 39 ฟอรัม
- 1,025 หัวข้อ
- 3,191 กระทู้
- 14 ออนไลน์
- 1,406 สมาชิก