การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การยอมรับความเสี่ยงของเทรดเดอร์ Forex

1 กระทู้
1 ผู้ใช้
1 Reactions
179 เข้าชม
(@tangneverdie123)
สมาชิก
Rookie
เข้าร่วม: 9 เดือน ที่ผ่านมา
กระทู้: 2
หัวข้อเริ่มต้น  

ศักยภาพในการยอมรับความเสี่ยง

เทรดเดอร์ Forex แต่ละคนนั้นจะมีการยอมรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน ไม่จำเป็นต้องเป็นนักลงทุนก็มีการยอมรับความเสี่ยงที่แตกต่างกันอยู่แล้ว บางครั้งคนที่มีความรู้ในการลงทุนอาจจะยอมรับความเสี่ยงได้น้อยกว่า คนที่ไม่มีความรู้ในการลงทุนก็ได้

หรือว่าบางครั้งคนที่มีความรู้ในการลงทุน ก็ยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้น้อยกว่า คนที่ไม่มีความรู้ในการลงทุนก็ได้ ไม่มีถูกและผิด ไม่มีดี-เสีย เพราะเป็นเรื่องปัจเจกขึ้นอยู่กับนิสัย ความรู้ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มันสำคัญในส่วนที่เราจะต้องพัฒนาคือ “ความสามารถในการควบคุมความเสี่ยง” มากกว่า ในบทเรียนวันนี้เราจึงเป็นการเรียนรู้ ประเภทของการจัดลำดับความเสี่ยงของนักลงทุนกันครับ

คนที่เรียนรู้บทเรียนนี้จะต้องได้แนวทางในการนำไปใช้ว่า ระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้นี้สามารถลงทุนได้ในการยอมรับความเสี่ยงเท่ากับเท่าไหร่ และจะปรับระดับความเสี่ยงให้เข้ากับลักษณะนิสัยของตัวเองอย่างไร

ประเภทของเทรดเดอร์ Forex

ในการแบ่งประเภทของเทรดเดอร์ นักวิชาการสามารถแบ่งประเภทของเทรดเดอร์ Forex ได้เป็น 4 ประเภทได้แก่

1. กลุ่มที่ไม่ใช่นักลงทุน

คือ กลุ่มที่ไม่มีการควบคุมความเสี่ยงเลย และนอกจากนี้ยังไม่ชอบความเสี่ยงด้วย สาเหตุที่กลุ่มนี้ไม่ได้จัดเป็นนักลงทุน เพราะว่ากลุ่มนี้ไม่กล้าที่จะลงทุนอะไรเลย และเวลาตัดสินใจลงทุน หรือทำอะไรก็ตาม กลับไม่มีการควบคุมความเสี่ยง

นั่นคือเป็นคนไม่มีความรู้ในการลงทุนนั่นแหละครับ กลุ่มนี้สามารถเห็นได้ทั่วไปในสังคม กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่พวกนักการตลาดนักขายชอบมาก เพราะว่าเขาสามารถเกลี้ยกล่อมชักจูงให้สามารถสร้างผลประโยชน์แก่นักการตลาดได้

2. กลุ่มนักลงทุนสายปลอดภัย

สายนี้เป็นสายที่ถูกเรียกด้วยคำศัพท์ คือ “พวกสายอนุรักษ์นิยม” เป็นสายที่ไม่อยากเสี่ยงอะไรเลย มีการควบคุมความเสี่ยงสูง และไม่ชอบความเสี่ยง

สายนี้ก็เหมือนกับพวกที่เวลาจะลงทุนอะไรก็คิดแล้วคิดอีก ว่าจะเอาตัวรอดจากผลขาดทุนของตลาดได้อย่างไร นักลงทุนสายนี้เหมาะกับการลงทุนที่เน้นความปลอดภัย ไม่ต้องไปลงทุน ไม่ต้องไปคิดอะไรที่จะต้องเสี่ยงให้ล้างพอร์ท แบบการใช้กลยุทธ์ Martingale (ที่กำไรดีแต่เสี่ยงล้างพอร์ตสูง)

3. นักลงทุนสายจัดการความเสี่ยง

คือนักลงทุนที่ชอบจัดการความเสี่ยงสูง (ไม่ได้ชอบความเสี่ยงนะ คือชอบบริหารความเสี่ยง) คือยอมรับความเสี่ยงได้สูงนั่นแหละ แต่ก็ต้องจัดการได้ ขณะที่การคุมความเสี่ยงก็เปิดกว้างมากขึ้น

กลุ่มพวกนี้จริง ๆ แล้วอยู่ตลาด Forex เป็นส่วนมากเลยเพราะว่า คนส่วนใหญ่ก็จะยอมรับการล้างพอร์ตได้อยู่แล้ว แถมยังไม่พอไม่รู้จักเข็ดหลาบกันเสียด้วย กลุ่มอื่น ๆ ที่เข้ามาในตลาด Forex มักจะอยู่ไม่นานเพราะไม่ทนทานเหมือนพวกรักความเสี่ยง

4. นักเก็งกำไร

นักเก็งกำไรนั้นจะชอบความเสี่ยงที่สูง และมีการควบคุมความเสี่ยงที่ต่ำ กลุ่มนี้จริง ๆ แล้วเราเป็นกันทุกคน โดยเฉพาะสาย Forex เพราะมันอยู่ในสายเลือดของพวกเรา มันคือขั้นตอนก่อนที่เราจะกลายเป็นนักลงทุนสายจัดการความเสี่ยง

ในการที่เราจะชอบความเสี่ยงและไม่รู้จักการควบคุมความเสี่ยงนั้น หากเราไม่มีความรู้ และการควบคุมความเสี่ยงยังต่ำมากๆ จะเรียกว่า “นักพนัน” รูปแบบนักลงทุน 2 แบบหลังนี้จะพบในตลาด Forex เป็นส่วนมาก

สรุป

ในการเทรด Forex สิ่งที่ต้องยอมรับและทำความเข้าใจก่อน คือ ระดับความเสี่ยงที่เราจะต้องยอมรับให้ได้ การยอมรับความเสี่ยงของคนแต่ละคนนั้นทำได้แตกต่างกัน บางคนไม่จำเป็นต้องเป็นเทรดเดอร์ Forex หรือนักลงทุนก็ยอมรับความเสี่ยงได้ดีกว่า นักลงทุนอีก

ดังนั้น ในการลงทุน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “การรู้จักตัวเอง” เพื่อใช้ระบบการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม เพราะการจัดการความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสมกับตัวเองนั้น จะทำให้การฝึกฝนสภาพจิตใจไม่ได้ประสิทธิภาพ ระดับความเสี่ยงที่นักวิชาการได้จัดลำดับความเสี่ยงไว้มี 4 ประเภท ได้แก่

  • กลุ่มที่ไม่ใช่นักลงทุน
  • กลุ่มนักลงทุนสายปลอดภัย
  • กลุ่มนักลงทุนที่มีการจัดการควบคุมความเสี่ยงที่สูง
  • กลุ่มนักเก็งกำไร

ทั้ง 4 ประเภทครอบคลุมกลุ่มคนต่าง ๆ ในตลาด Forex โดย 2 กลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มที่มีปริมาณคนอยู่เยอะที่สุด เพราะว่าเทรดเดอร์ในตลาด Forex ส่วนใหญ่จะรักความเสี่ยงอยู่แล้ว

 

ที่มาแหล่งข้อมูล: ความรู้ forex บทเรียนเริ่มต้นพื้นฐานสู่มืออาชีพที่แท้จริง (thaibrokerforex.com)


   
thaiforex reacted
อ้างอิง
แท็กหัวข้อ

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

You are not allowed to attach files on this forum. It is possible that you have not reached the minimum required number of posts, or your user group does not have permission to attach files in this forum.
 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน: